วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Differentiate or Die

สรุปเนื้อหาจากหนังสือ Differentiate or Die
ในปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกมากมายในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการ การมีเหตุมีผลสำหรับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ด้วยเหตุผลนี้ นักการตลาดจึงจำเป็นต้องสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับสินค้าเพื่อให้ดำรงอยู่ในท้องตลาดได้ การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์โดยใช้ความแตกต่างของสินค้าแล้วใช้การเสนอขายแบบ USP(Unique selling propositions) คือการเน้นในคุณลักษณะของตราสินค้าเพียงหนึ่งอย่างและหนึ่งตราสินค้า จะเป็นการเน้นการสร้าง Brand ของสินค้าและประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้รับจากการใช้สินค้า วิธีการใช้การสร้างความแตกต่างก็ขึ้นกับประเภทการตัดสินใจของผู้บริโภค
1. ผู้บริโภคประเภท “ผู้ใช้สัญชาตญาณ” มักมีข้ออ้างว่า การโฆษณาสร้างความแตกต่างแสดงให้เขาเห็นความแตกต่างผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจนจะทำให้ประสบความสำเร็จในลูกค้ากลุ่มนี้
2. ผู้บริโภคประเภท “ผู้ใช้ความคิด” มักใช้ความคิดพินิจพิเคราะห์ พิถีพิถันและใช้เหตุผล การตัดสินใจมักใช้ข้อมูล การสร้างความแตกต่างใช้ข้อเท็จจริงและให้เหตุผล
3. ผู้บริโภคประเภท “ผู้หยั่งรู้” มักจะสนใจความรู้สึกของผู้อื่น หรือเห็นด้วยกับคำอ้างอิงของบุคคลที่สามที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในเรื่องนั้น ๆ วิธีการจึงใช้บุคคลอ้างอิงมาสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์
4. ผู้บริโภคประเภท “ผู้ที่ไวต่อความรู้สึก” มักไวต่อความรู้สึกและมองหารายละเอียดแต่การสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์กับผู้บริโภคกลุ่มนี้เน้นที่คำพูดธรรมดา ๆ ที่แสดงจุดความแตกต่างของผลิตภัณฑ์
วิธีการต่างๆ เหล่านี้ไม่ใช่เป็นการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์
1. มุ่งไปยังลูกค้าและคุณภาพ ไม่ถือว่าเป็นการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์เสียทีเดียว เหตุผลเพราะคู่แข่งก็ทำเช่นเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ การออกโปรแกรมสะสมไมล์เดินทาง คู่แข่งก็ออกโปรแกรมเช่นกัน
2. การโฆษณาด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่แนวคิดสร้างความแตกต่างถ้าไม่อยู่บนพื้นฐานของการสื่อเรื่องความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ โฆษณาที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือความบันเทิงดึงดูดให้ผู้บริโภคสนใจ แต่ชุดโฆษณาดังกล่าวไม่ได้สร้างเงินให้กับบริษัทเลย โฆษณาที่ดีต้องโน้มน้าวผู้ชมให้มาบริโภคสินค้าและบริการให้ได้ โดยสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า เช่นโฆษณาเป็ปซี่ “ทางเลือกของคนรุ่นใหม่” ที่ได้รับการตอบสนองที่แรงมาก
3. ราคาไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่าง ธุรกิจที่มีการแข่งขันกันลดราคาจำนวนมากต้องตายไปจากตลาดเนื่องจากธุรกิจไม่มีกำไร อย่างไรก็ตามบางกรณีราคาเป็นตัวสร้างความแตกต่างได้ เช่น กรณี Walmart หรือ Southwest Airline แต่ทั้ง 2 บริษัทก็ใช้กลยุทธ์อื่น เช่นด้านการจัดการบริการสินค้าและอื่นๆ ด้วย
4. ความกว้างของสายผลิตภัณฑ์ไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่าง ร้านค้าสินค้าเฉพาะที่มีหลากหลายผลิตภัณฑ์มุ่งเน้นแต่การขายลดราคาสินค้าจะทำให้เกิดการแข่งขัน
ขั้นตอนของการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์
การสร้างความแตกต่างเป็นเรื่องของเหตุและผล จึงมีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าใจในบริษัท (Context) และสื่อสารข้อความที่ต้องการให้เข้าไปอยู่ในความคิดของผู้บริโภค
2. ค้นหาไอเดียที่แตกต่าง ต้องหาความโดดเด่นในผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน
3. มีหลักฐานอ้างอิง การสร้างข้อโต้แย้งเชิงเหตุผลว่าผลิตภัณฑ์ของคุณแตกต่างอย่างโดดเด่น
4. สื่อสารความแตกต่างให้เข้าไปอยู่ใจในผู้บริโภคได้ดีกว่าจะเป็นผู้ชนะ การที่จะสร้างความสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยแนวความคิด (Concept) เป็นตัวสร้างโอกาส
แนวคิดในการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์
แนวคิดในการสร้างความแตกต่างเกิดจากความคิดของเรานำไปสู่การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ให้เกิดความแตกต่างในความคิดของผู้บริโภค ความแตกต่างนี้จะต้องแตกต่างแบบสุดขั้ว เนื้อความที่สื่อสารต้องเรียบง่าย เข้าใจง่าย และแสดงส่วนสำคัญของผลิตภัณฑ์ได้ดี ต่อไปนี้เป็นแนวความคิดของการสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์
- ความเป็น First mover การเป็นเจ้าแรกทำให้ผู้บริโภคจำสินค้าได้ดี การเป็นเจ้าแรกทำให้ชื่อติดปากกลายเป็นสามัญทั่วไปของตราสินค้าราได้ เช่น Xerox ที่ใช้เรียกกันจนติดปาก
- การมีคุณลักษณะที่แตกต่าง (Attribute) แสดงคุณสมบัติที่ดีและมีประสิทธิผลมากที่สุดเพียงคุณสมบัติเดียวจะเกิดกับผลิตภัณฑ์เดียวครอบครองตลาดนี้ เช่น รถยนต์-Volvo-แสดงคุณสมบัติความปลอดภัย
- การเป็นผู้นำตลาด นำมาใช้แสดงความแตกต่างได้ ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในผลิตภัณฑ์ น่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้ การใช้ความแตกต่างว่าเราเป็นผู้นำตลาด ผู้บริโภครับรู้ว่าเราคือผู้นำ ผู้ที่ไม่เคยบริโภคก็อยากที่จะลองใช้
- การใช้มรดกสืบทอดและอ้างอิงของมรดกสืบทอดจากความเก่าแก่ของผลิตภัณฑ์ว่ามีแหล่งกำเนิดจากผู้ผลิตประเทศ Original ทำผู้บริโภครับรู้ว่าได้บริโภคสินค้าที่เป็นของแท้ต้นกำเนิด เช่น Vodska จากรัสเซีย
- มุ่งสนองตลาดเฉพาะโดยอาศัยความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เช่น GE เชี่ยวชาญเรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน การไปทำธุรกิจเรื่องอื่นที่ไม่เชี่ยวชาญก็ไม่สามารถแข่งกับคู่แข่งที่เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องนั้นได้
- การใช้ Preference การสร้างผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่นิยมชมชอบในเรื่องเฉพาะ ไนกี้เป็นที่นิยมชมชอบในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกีฬา ซึ่งไนกี้ต้องทุ่มซื้อนักกีฬาโฆษณาผลิตภัณฑ์สำหรับกีฬาประเภทนั้น ๆ
- ทำให้ผลิตภัณฑ์แตกต่าง การมีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างใช้ประโยชน์จากบางคำ เช่น Trinitron ของ Sony ก็สร้างนวัตกรรมระบบใหม่ขึ้นมาและทำให้ผู้บริโภครับรู้
- ใช้ความล่าสุด ใช้เทคโนโลยีของใหม่เป็นตัวสร้างความแตกต่าง ยาลดกรด PPI เป็นยา นวัตกรรมใหม่ที่แทน H2-blocker เพื่อรักษาโรคกระเพาะ
- ใช้ความฮอต ใช้ความแตกต่างของสินค้าว่าเป็นสินค้าที่ฮอต ด้วยยอดขายสูงสุดในช่วงเดือนนี้ปีนี้หรือของกลุ่มประเภทนี้-ผลขอการจัดลำดับอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์เราอยู่ในอันดับหนึ่ง
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างความแตกต่าง
1. การเติบโตทำลายล้างความแตกต่าง เมื่อบริษัทเติบโตขึ้นผลิตภัณฑ์ขายมากขึ้น มีการใช้เครื่องจักรมาแทนการผลิตแบบดั้งเดิมซึ่งทำให้กลยุทธผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างเดิมเปลี่ยนไป
2. การขยายผลิตภัณฑ์อย่าง Megabrand โดยขยายผลิตภัณฑ์หลายชนิดในตราสินค้าเดียวแล้วยอดขายดิ่งลงอย่างมาก สาเหตุเพราะไม่มีความแตกต่างในผลิตภัณฑ์เหล่านั้น แมคโดนัลขยายผลิตภัณฑ์ออกไปมากมายออกแฮมเบอร์เกอร์สำหรับเด็ก ผู้ใหญ่ พิซซ่า ไก่ทอด ทำให้แมคโดนัลเติบโตช้าและชื่อเสียงแย่ลง
3. ความคิดที่หลงทาง Starbuk ผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟเริ่มคิดที่จะขายอาหารด้วยและขยายไปขายทุกอย่างผ่านทาง Cyber นักลงทุนใน Wallstreet ไม่เห็นด้วยกับผู้บริหาร จึงเทขายหุ้นออกมา Starbuk จึงหยุดเดินทางนั้น สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคหรือนักลงทุนก็อยากเห็น Starbuk คือร้านขายกาแฟที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ
4. Multiple brand การตลาดตราสินค้าแบบ Complementary approach ที่มีตราสินค้ามีความสมบูรณ์ในตัวเองมี 5 ตรา มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ชัดเจน เป็นวิธี Multiple brand ที่จัดให้ประสบความสำเร็จดีกว่าการขยายผลิตภัณฑ์ในแบรนด์เดียวที่ผู้บริโภครับรู้ว่าไม่เชี่ยวชาญทุกอย่าง
5. การสร้างความแตกต่างต้องเน้นไปที่ความแตกต่างเฉพาะอย่าง เช่น ดูราเซลล์เน้นความแตกต่างในเรื่องความเป็นผู้เชี่ยวชาญแบตเตอรี่อายุใช้งานยาวนานที่สุด ยอดขายของดูราเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างมาก
6. การสร้างความแตกต่างต้องสร้างในที่ที่แตกต่าง ผลิตภัณฑ์ในแต่ละประเทศหรือแต่ละที่ก็ต้องสร้างความแตกต่างโดยขึ้นอยู่กับ Culture นั้น ๆ Beerในเยอรมันถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
7. รักษาความแตกต่างไว้ รักษาความแตกต่างในผลิตภัณฑ์นั้นให้แม่นและอย่าเปลี่ยนกลยุทธ์ในผลิตภัณฑ์ตราสินค้าที่ประสบความสำเร็จนั้น สื่อความแตกต่างอย่างสม่ำเสมอ และพัฒนาความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่มีโดยการขยายความแตกต่างให้กว้างขึ้นแต่ยังคงอยู่ที่ความแตกต่างบนพื้นฐานเดิม
8. ผู้บริหารระดับสูงจะต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์ความแตกต่าง ผู้บริหารในอดีตหลายคนนำพาบริษัทสู่ความล้มเหลวหรือเสียเวลาหลงทางอยู่ CEO ต้องรับรู้และกำหนดความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ด้วย
ข้อคิดที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้สะท้อนให้เห็นว่า องค์กรต้องสร้างความแตกต่างจึงจะอยู่รอดในธุรกิจที่แข่งขันกันในปัจจุบัน ผู้เขียนวิเคราะห์กรณีศึกษาต่าง ๆ และทำการสรุปสาเหตุและความสำเร็จหรือความล้มเหลวในตราสินค้าหรือธุรกิจและเสนอแนะแนวทาง โดยมุ่งเน้นในเรื่องของการสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ดังนั้นข้อคิดที่ได้จากการอ่านหนังสือเล่มนี้สามารถที่จะสรุปออกมาเป็นดังนี้
1. การสร้างความแตกต่างในตราสินค้าทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นสามารถอยู่รอดได้ ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่มีการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับยุทธวิธีที่ใช้ในการสร้างความแตกต่าง สำหรับผลิตภัณฑ์เดิมที่ประสบความสำเร็จในตราสินค้าอยู่แล้ว ก็พัฒนาความแตกต่างให้กว้างขึ้น แต่อยู่บนพื้นฐานความแตกต่างเดิม
2. การสร้างความแตกต่างในผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นในใจผู้บริโภคให้ประสบความสำเร็จ กลยุทธ์ที่สร้างความแตกต่างนั้นจะมุ่งกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่มีลักษณะแตกต่างกัน ก็ใช้สื่อให้ถูกกับประเภทของผู้บริโภค
3. ขั้นตอนการสร้างความแตกต่างทำให้ทราบว่า ต้องเข้าใจถึง Concept ก่อน พิจารณาถึง resource และสื่อสาร concept นั้นกับผู้บริโภคให้เข้าใจและรับรู้ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นต่างจากคู่แข่งอย่างสุดขั้ว
4. ได้แง่คิดที่ว่า ในหนึ่งตราผลิตภัณฑ์จะมีคุณสมบัติที่ดีและมีประสิทธิผลมากที่สุดเพื่อสิ่งเดียวที่จะครอบครองตลาดส่วนนี้
5. การประยุกต์ใช้ความแตกต่างในเรื่องใด เราสามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์เหล่านี้และเลือกหรือปรับใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจที่เรามีอยู่ พร้อมทั้งคอยติดตามกรณีศึกษาใหม่ ๆ การเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น
6. การดำรงไว้ซึ่งความแตกต่างนั้น จะต้องมีการพัฒนาความแตกต่าง และผู้มีหน้าที่รับรู้ถึงการสร้างความแตกต่างจะต้องมีส่วนร่วมของ CEO เพราะนั่นคือจุดชี้ทิศทางและทางเดินขององค์กรที่จะอยู่รอดของธุรกิจ
การใช้ความแตกต่างในผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องนำมาประยุกต์ใช้ด้วยความพิจารณารอบครอบให้เหมาะกับสถานการณ์ ความพร้อมและความเหมาะสมของธุรกิจที่เรามีอยู่ การเรียนรุ้จากกรณีศึกษาต่างๆ ที่หนังสือเล่มนี้รวบรวมและบางกรณีก็ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเป็นสิ่งที่น่านำมาพิจารณาและปรับใช้ต่อองค์กร อย่างไรก็ดี มิได้หมายความว่าจะทำให้ประสบความสำเร็จทุกกรณี อย่างน้อยก็เรียนรู้ถึงความผิดพลาดหรือความสำเร็จของกรณีศึกษา แต่ถ้าธุรกิจเรามีแนวคิดที่แตกต่างจากกรณีศึกษาที่ผ่านมาก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์เรามีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์อื่นได้เช่นเดียวกับความต้องการที่ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ต้องการให้ผู้อ่านให้ความสำคัญกับคำว่า Differentiate or Die

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การวิเคราะห์ SWOT

วิเคราะห์ SWOT

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก : การพิจารณาโอกาสและอุปสรรค
เครื่องมือที่ใช้ - วิเคราะห์สภาพแวดล้อม 6 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ, สังคมวัฒนธรรม, เทคโนโลยี, ด้านกายภาพ, การเมืองและกฎหมาย, ด้านต่างประเทศ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน : การพิจาณาจุดอ่อนและจุดแข็ง
เครื่องมือที่ใช้ - การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain)

โอกาส (Opportunity)
1. สภาวะทางเศรษฐกิจกำลังเริ่มฟื้นตัวจากปีที่ผ่านๆ โดยมีอัตราการเติบโตที่ไม่สูงมากนัก แต่ก็จัดได้ว่าประชากรมีการใช้จ่ายมากขึ้น จึงเป็นโอกาสในการในการขายสินค้าได้มากขึ้นด้วย
2. จากการที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาและก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้กระบวนการผลิตสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้นรวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ
3. กระแสการรณรงค์ให้บริโภคสินค้าไทย ภายใต้ นโยบายให้ใช้สินค้าที่ผลิตโดยคนไทย เป็นการช่วยส่งเสริมการบริโภคของประชาชนให้หันมาใช้สินค้าภายในประเทศ มากกว่าการใช้สินค้าที่เป็นแปรนด์ต่างประเทศ
อุปสรรค(Threat)
1. การบริโภคสินค้าของประชาชนในปัจจุบัน จะมีการใส่ใจต่อสุขภาพกันค่อนข้างมาก จะมีการเลือกซื้อสินค้าที่ดีและมีประโยชน์ รวมทั้งการบริโภคของกลุ่มวัยรุ่นจะนิยมบริโภคสินค้าที่มีแครอรี่ต่ำ เพราะไม่ต้องการมีน้ำหนักที่มากเกินไป หรือไม่ต้องการอ้วนนั้นเอง
2. คู่แข่งขันมีสินค้าที่หลากหลายและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายทำให้คู่แข่งสามารถแย่งส่วนแบ่งของกลุ่มลูกค้า

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน : การพิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อน

เครื่องมือการประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน คือ การวิเคราะห์ห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value -Chain) ในการจัดการกับกระบวนการภายในธุรกิจนั้น องค์การควรมองในภาพรวม ให้ความ สำคัญกับทุกขั้นตอนของกระบวนการภายในธุรกิจ คือ มองทุกส่วนในห่วงโซ่แห่ง คุณค่า (Value Chain)




จุดแข็ง (Strength)
1. ประเทศจีนเป็นต้นตำรับของการใช้สมุนไพรในการปรุงอาหารและปรุงยามาแต่โบราณกาล และคนจีนมีความห่วงใยในเรื่องสุขภาพเป็นอย่างมาก ดังนั้นการคัดสรรส่วนประกอบของอาหารจึงคำนึงถึงการบำรุงสุขภาพของผู้บริโภคด้วย
2. อาหารจีนมีความหลากหลายในการประกอบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นต้ม ผัด แกง ทอด นึ่ง ตุ๋น ซึ่งทำให้ผู้บริโภคไม่จำเจจุดอ่อน (Weakness)
1. การบริโภคอาหารจีนบ่อยครั้งเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมาย เพราะใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารเป็นหลัก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคอ้วน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด เป็นต้น
2. รสชาดของอาหารจีนส่วนใหญ่จะมีรสจืด ผู้บริโภคบางคนที่ชอบความหลากหลายในรสชาด หรือบริโภคบ่อยครั้งอาจจะเกิดความเบื่อหน่ายได้
3. อาหารจีนบางอย่างใช้อวัยวะบางส่วนของสัตว์ป่า สัตว์สงวน เป็นเครื่องประกอบอาหาร ด้วยความเชื่อที่ว่า รับประทานแล้วจะบำรุงร่างกายหรือเสริมสมรรถภาพ ทำให้สัตว์ป่าหรือสัตว์สงวนบางประเภทมีจำนวนลดน้อยลงไป การกระทำเช่นนี้ได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากประเทศในแถบตะวันตก


สรุปการวิเคราะห์ SWOT

SWOT Analysis ซึ่งได้แก่
1. Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
2. Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
3. Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
4. Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis
เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ, W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น

ตัวอย่าง : แผนการตลาด ดูได้ที่http://www.huso.buu.ac.th/vuttichat/marketing%20plan2.doc

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2550

พฤติกรรมองค์กร

การบริหารงานเป็นกระบวนการทำงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น และการบริหารเป็นกระบวนการของการวางแผน การจัดองค์การ และการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีความต้องการ มีความรู้สึกและอารมณ์ ดังนั้น การที่จะบริหารจัดการให้มนุษย์ทำงานได้สำเร็จ เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายขององค์การ ตลอดจนสามารถแข่งขันและทำให้องค์การอยู่รอดได้นั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องทำการศึกษาพฤติกรรมภายในองค์การ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถทำนายพฤติกรรมในองค์การได้ ตลอดจนสามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ทั้งนี้ การศึกษาพฤติกรรมองค์การมีความสำคัญต่อผู้บริหารดังต่อไปนี้

1. ทำให้เกิดความเข้าใจ และสามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของตนเอง การศึกษาพฤติกรรมองค์การจะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจพฤติกรรมและความรู้สึกของตนเอง เช่น มีความเข้าใจในความรู้สึก ความต้องการและแรงจูงใจของตนเอง ทำให้ทราบธรรมชาติ จุดอ่อนและจุด แข็งของพฤติกรรมของตนเอง ตลอดจนปัจจัยที่เป็นสาเหตุ ทำให้สามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปในทิศทางที่พึงประสงค์ เช่น นำความรู้ที่ได้มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาพฤติกรรมและความความสามารถในการตัดสินใจ การตอบสนอง การควบคุมอารมณ์และความเครียดต่าง ๆ การพัฒนาการสื่อสารกับผู้อื่น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการบริหารงานในอาชีพของตน

2. ทำให้เกิดความเข้าใจ และสามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา
เนื่องจากผู้บริหารจำเป็นต้องรับผิดชอบในการวางแผน การจัดองค์การ และการควบคุมให้มี การทำงานที่นำไปสู่ผลสำเร็จขององค์การ การศึกษาพฤติกรรมองค์การจะทำให้ผู้บริหารเข้าใจธรรมชาติและความต้องการของผู้ใต้บังคับบัญชาแต่ละคน เข้าใจปัจจัยสาเหตุของพฤติกรรม จึงทำให้ผู้บริหารเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง สามารถทำนายได้ว่า ถ้าใส่ปัจจัยหรือตัวแปรใดเข้าไป จะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมอะไรขึ้น ซึ่งนำมาสู่การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมในองค์การด้วยการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น ใช้การจูงใจบุคลากรให้ทำงานอย่างทุ่มเทมากขึ้น มีการจัดอกแบบงานได้อย่างเหมาะสมกับธรรมชาติของคนทำงาน การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในองค์กาการสนับสนุนให้บุคลากรทำงานได้บรรลุตามเป้าหมายและได้รับรางวัล เป็นต้น

3. ทำให้เกิดความเข้าใจ และสามารถทำนายและควบคุมพฤติกรรมของเพื่อนร่วมงาน เนื่องจากผู้บริหารจำเป็นต้องทำงานและมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานในองค์การ การเข้าใจ กระบวนการเกิดทัศนคติของบุคคล การเข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล กระบวนการกลุ่มที่เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกัน และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม วัฒนธรรมภายในองค์การ พฤติกรรมที่ เกี่ยวกับอำนาจและการเมืองภายในองค์การ จะช่วยให้ผู้บริหารเข้าใจกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมต่าง ๆ ในองค์การ ทำให้สามารถทำนายและนำมาใช้ในการสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี

4. ทำให้เกิดความเข้าใจ และสามารถทำนายพฤติกรรมของผู้บริหาร บุคคลอื่นและสภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายขององค์การเนื่องจากผู้บริหารมีหลายระดับ ผู้บริหารในระดับที่อยู่เหนือขึ้นไปจะมีอิทธิพลต่อผู้บริหารในระดับรองลงมา และบุคคลอื่นและสภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายการบริหารจะมี อิทธิพลต่อผู้บริหารระดับสูง เช่น ผู้บริหารจากส่วนกลาง ผู้ตรวจราชการ ผู้ถือหุ้น รวมทั้งคู่แข่ง ( Competitors ) ผู้ส่งวัตถุดิบให้ ( Suppliers ) และลูกค้าขององค์การ ตลอดจนสภาพแวดล้อม เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงภายในและภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อองค์การ ฯลฯ การศึกษา พฤติกรรมองค์การจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้บริหารมีความเข้าใจพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริหาร ที่อยู่เหนือขึ้นไปและบุคคลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนโยบายขององค์การ และสามารถทำนายการ เปลี่ยนแปลงของ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อนโยบายขององค์การ ซึ่งนำมาสู่การเจรจาต่อรอง การ วางแผน การจัดองค์การ และการควบคุมให้องค์การมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่พึงประสงค์ และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายขององค์การได้

ดังนั้น การศึกษาพฤติกรรมองค์การจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้บริหาร กล่าวคือ ทำให้ ผู้บริหารเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชา เข้าใจเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนเข้าใจผู้บริหารและบุคคลอื่นและสภาวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย โดยความเข้าใจเหล่านี้จะทำให้สามารถทำนายพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้น และสามารถปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง จูงใจ สนับสนุน และควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอื่น อันเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ผู้บริหารสามารถบริหารตนเองและบุคคลรอบข้าง และทำให้องค์การประสบความสำเร็จได้

ที่มา : http://freehost11.websamba.com/krupas/ob.doc

Marketing Plan

Marketing Management :

Business Strategy --->Marketing Plan--->Executive Summary & Table of Contens----->
Current Marketing Situation สถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน (SLEPT : Social, Legal, Economic, Politic, Technology) ----->Marketing Research การวิจัยการตลาด ----->
SWOT Analysis การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด (5 Force : Supplier, Buyer, Substitute, New entrant, competitive) ----->Objectives วัตถุประสงค์ (ยอดขาย ส่วนแบ่งตลาด กำไร เงื่อนไขอื่น ๆ )
-----> Strategy Marketing (STP , 4’Ps) STP Marketing Segmentation Target Positioning

การแบ่งส่วนตลาด คือ กระบวนการในการแยกผู้บริโภคออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ (Sub-Segment) ภายในแต่ละกลุ่มย่อยมีความต้องการในสินค้า/บริการคล้ายคลึงกัน ทำให้เห็นความ
ตลาดเป้าหมาย (Target groups / Target Market) คือ กลุ่มลูกค้าที่นักการตลาดเลือกในการจะเสนอสินค้า/บริการขององค์กรไปยังคนกลุ่มนี้
ขั้นตอน : เมื่อได้ส่วนตลาดย่อย (Sub-Segment ) แล้ว จะพิจารณาศักยภาพ
การวางตำแหน่งทางการตลาด (Market Positioning) คือกระบวนการในการกำหนดจุดเด่น หรือ คุณค่าที่ผู้บริโภคพึงปรารถนาสำหรับสินค้า/บริการขององค์กร โดยจุดเด่น หรือ คุณค่านั้น ควรมีแตกต่างกัน ของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มได้ชัดเจนขึ้น สามารถประเมินขนาด & กำลังซื้อของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม เพื่อจัดทรัพยากรขององค์กรไปตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและลดการสูญเปล่าทางการตลาด

เกณฑ์ที่ใช้แบ่งส่วนตลาด:
1. ประชากรศาสตร์ : เพศ อายุ รายได้ เช่น ชาย อายุ 21 – 25 ปี ระดับรายได้ สูงกว่า 10,000 บาท
2. ภูมิศาสตร์ : เขตประเทศ เช่น เขตอินโดจีน / เขตพื้นที่ เช่นภาคกลาง / สภาพความเจริญ เช่น เมืองใหญ่ ชานเมืองใหญ่ ชนบท
3. จิตวิทยา : บุคลิกภาพ เช่นหวานแหวว ปราดเปรียว /สถานะในสังคม เช่น ระดับสูง ระดับล่าง / Life Style เช่น วัยรุ่นวุ่นรัก ท่องป่าชมไพร
4. พฤติกรรม โอกาสในการใช้ เช่น ใช้เป็นประจำ / คุณประโยชน์ที่ต้องการ เช่น ความสะอาด ความประหยัด /อัตราการใช้ เช่น ผู้ที่ใช้ปริมาณมาก/การอ่อนไหวต่อราคา /ความภักดีในตรายี่ห้อ
และความน่าสนใจของ Sub-Segment แล้วจึงเลือกส่วนตลาดนั้น ๆ อาจเลือกได้มากกว่าหนึ่งส่วนตลาดย่อยเป็นตลาดเป้าหมายขององค์กร

เกณฑ์ที่ใช้เลือกตลาดเป้าหมาย:
1. ขนาดและอัตราการเติบโตของส่วนตลาด (Segment size and Growth)
ต้องดูความสามารถขององค์กรและภาวะการแข่งขันประกอบด้วย
2. ความน่าดึงดูดใจของโครงสร้างการตลาด (Segment structural attractiveness) เป็นการพิจารณาศักยภาพของส่วนตลาดทั้งปัจจุบันและอนาคต เช่น Nich Market ตลาดไม่ใหญ่แต่กำลังซื้อสูง
3. เป้าหมายและทรัพยากรขององค์กร (Organization objectives and resources) ส่วนตลาดที่เลือกควรสอดคล้องกับเป้าหมาย เช่น องค์กรขนาดใหญ่มีเงินลงทุนและบุคลากรมาก ควรเลือกส่วนตลาดที่มีขนาดใหญ่ หรือองค์กรขนาดเล็กควรเลือกส่วนตลาดที่มีขนาดเหมาะสมกับศักยภาพด้านการแข่งขัน และการเข้าถึงตลาดขององค์กร ความแตกต่างจากสินค้า/บริการของคู่แข่งอย่างชัดเจน และสามารถเสนอให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความแตกต่างนั้นได้

ปัจจัย 4 ประการในการสร้างความแตกต่างของตำแหน่งทางการตลาด :
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ดึงลักษณะเด่น/พิเศษของผลิตภัณฑ์ที่เรามีแต่คู่แข่งไม่มี เช่น รูปแบบ คุณสมบัติ ความคงทน ราคา ความเชื่อถือได้ คุณภาพ
2. ด้านบริการ (Service) ทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความแตกต่างจากคู่แข่งขัน เช่น ความรวดเร็ว การรับประกัน บริการพิเศษ อบรม ความสะดวก เวลาทำการ
3. ด้านบุคลากร (Personnel) โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องอาศัยบุคลากรเป็นส่วนสำคัญของการให้บริการ ปัจจัยที่นิยมใช้ คือ ความรู้ของ บุคลากร ประสบการณ์และความชำนาญ ความเอาใจใส่ลูกค้า ความซื่อสัตย์ไว้ใจได้

STP Marketing (ต่อ) Segmentation Target Positioning

กลยุทธ์ในการเข้าสู่ส่วนตลาดเป้าหมาย :
1. กลยุทธ์ตลาดรวม (Market Aggregation /Total Market / Undifferentiated Approach) ผู้บริโภคมีความต้องการในสินค้า/บริการไม่แตกต่างกัน ไม่จำเป็นต้องพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด (4’Ps) ที่แตกต่างกันในการตอบสนองความต้องการของตลาดแต่ละส่วน คือการมองตลาดหรือผู้บริโภคเป็นตลาดใหญ่ตลาดเดียว
2. กลยุทธ์การตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (Single-Segment Strategy) เป็นการเลือกส่วนตลาดย่อยส่วนเดียว จากส่วนตลาดหลายส่วนที่ถูกแบ่งด้วยเกณฑ์ต่างๆ แล้ว เช่น รถเบนซ์ เลือกส่วนตลาดที่มีรายได้สูงเป็นตลาดเป้าหมาย ข้อดีของการเลือกส่วนตลาดส่วนเดียว คือ ทำให้การจัดสรรทรัพยากรทางการตลาดขององค์กรไปในทิศทางเดียวกัน ผู้บริโภคไม่สับสน สามารถเข้าถึงและสร้างความยอมรับกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย
3. กลยุทธ์การตลาดมุ่งหลายส่วน (Multiple-Segment Strategy) ในการเลือกตลาดเป้าหมายนั้น จะเลือกส่วนตลาดย่อยมากกว่า 1 ส่วนตลาด จากนั้นจึงพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดหลายชุด โดยแต่ละชุดจะถูกพัฒนาขึ้นสำหรับผู้บริโภคในแต่ละส่วนตลาดย่อย เช่น โตโยต้ามอเตอร์ มีรุ่น โซลูน่า แคมรี เลกซัส เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละส่วนตลาด ซึ่งกลยุทธ์นี้มีข้อดีที่สามารถ
4. ด้านภาพลักษณ์ (Image) เป็นคุณค่าทางจิตใจ ในการสร้างต้องใช้
เวลานานและงบประมาณอย่างต่อเนื่องค่อนข้างสูง ในการสร้างภาพลักษณ์สร้างได้จาก
- ที่มาของสินค้าหรือบริการ คือ อาศัยความน่าเชื่อถือของผู้ผลิตมาสร้างภาพลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์
เพื่อให้ผู้บริโภคยอมรับและเห็นความแตกต่างได้รวดเร็วขึ้น
- ความรักชาติหรือสนับสนุนสินค้าไทย เช่น ไทยประกันชีวิต เบียร์สิงห์
- เหตุการณ์พิเศษ เช่น สบู่ปาล์มโอลีฟ สนับสนุนการประกวดนางสาวไทยอย่างต่อเนื่อง
- บรรยากาศ เข่น ลูกอมฮอล์ล ที่สร้างตำแหน่งเป็นลูกอมเย็นซ่าชุ่มคอ โดยเชื่อมโยงกับบรรยากาศของน้ำตก
- สัญลักษณ์ เช่น รูปผู้พันต้นตำหรับของเคนตั๊กกี้
การวางตำแหน่งทางการตลาดไม่ควรวางตำแหน่งโดยใช้จุดเด่นของสินค้าเกินกว่า 2 จุด เนื่องจากผู้บริโภคจะสับสน และไม่ควรเปลี่ยนตำแหน่งทางการตลาดบ่อยเกินไป เพราะตำแหน่งทางการตลาดนั้น เสมือนการลงทุนระยะยาวในใจผู้บริโภค
การกำหนดตำแหน่งทางการตลาดให้ได้ผลดีนั้น จุดเด่นของผลิตภัณฑ์/บริการที่เราเลือกขึ้นมาควรเป็นจุดขายที่มีความแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน และเป็น
§ STP Marketing (ต่อ)

Segmentation Target Positioning
เงื่อนไขที่เลือก :
1. สามารถวัดได้ (Measurable)
2. สามารถเข้าถึงได้ (Accessible)
3. ทำกำไรให้องค์กรได้ (Profitable)

ขยายตลาดไปได้กว้างขวางสู่หลาย ๆ ส่วนตลาด ข้อจำกัดคือใช้งบประมาณและทรัพยากรมาก และการเข้าสู่หลายส่วนตลาดมากอาจทำให้ผู้บริโภคสับสนในตำแหน่งทางการตลาดขององค์กร เช่น เลกซัส ก็ไม่ประสบความสำเร็จในเมืองไทย

คุณประโยชน์ที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญในการตัดสินใจซื้อ Unique Selling Point

STP Marketing หรือ การแบ่งส่วนตลาด การกำหนดตลาดเป้าหมาย
และการวางตำแหน่งทางการตลาด เป็นขั้นตอนงานที่สำคัญในการเอาชนะคู่แข่งในการดำเนิน
ธุรกิจ หากเราแบ่งส่วนตลาดได้อย่างชัดเจน เหมาะสม ก็จะมีส่วนช่วยสร้างโอกาสให้แก่ผลิตภัณฑ์
และบริการขององค์กรในการเข้าสู่ตลาด รวมทั้งทำให้เห็นช่องว่างทางการตลาดที่ยังไม่มีคู่แข่งให้
ความสนใจ
เมื่อเราเลือกตลาดเป้าหมายได้ถูกต้อง สอดคล้องกับทรัพยากรขององค์กร และเป็นส่วน
ตลาดที่มีศักยภาพสูง สำหรับอนาคต ก็ยิ่งมีส่วนทำให้องค์กรสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว
การวางตำแหน่งทางการตลาดที่เหมาะสม ทำให้ผู้บริโภคได้เห็นจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน ยิ่งทำให้การใช้ทรัพยากรในการสื่อสารการตลาดไปสู่ผู้บริโภคมีประสิทธิภาพ เป็นการใช้งบประมาณที่เกิดผลทั้งในระยะสั่นและต่อเนื่องในระยะยาว ซึ่งจะนำความสำเร็จมาสู่องค์กรในที่สุด


Marketing Mix (4’Ps) ขึ้นอยู่กับ ชนิดของ Product / เหตุผล

Product
Customer Solution
Price
Customer Cost
Place / Distribution outlets
Convenience
Promotion / Sales promotion
Communication (IMC) Ads, Sale force (พนักงานขาย) , ส่งเสริมการขาย, PR, Direct mail
Research and development (R&D)


Action Programs
แผนปฏิบัติการ

Projected Profit and Loss
การคาดคะเนทางการเงิน

Controls การควบคุมการปฏิบัติงาน

FEDEX

http://www.fedex.com FedEx เป็นบริษัทผู้ให้บริการขนส่งสินค้าระดับโลก อีกแห่งที่น่าสนใจ ปัจจุบันมีสาขาเกือบทั่วโลก รวมทั้งไทยด้วย ภายในเวบไซต์สามารถบอกเราได้ว่า FedExมีความเป็นมาอย่างไร โดยเราต้องเลือกประเทศก่อนใช้บริการทุกครั้ง และถ้าต้องการรู้เรื่องการให้บริการต้องเข้าไป ที่ Service Info ซึ่งทำให้เราเข้าใจเรื่องลอจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซได้ดี นอกจากนั้น ยังช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจเรื่องเวลาในการส่งสินค้า หรือเทคโนโลยีต่างๆที่นำมาช่วยในการเช็คสินค้าว่า ขณะนี้ไปถึงไหนแล้ว


Key Success เฟดเอ็กซ์
"เฟดเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส" หรือเฟดเอ็กซ์ เป็นบริษัทที่ติดอันดับ "หนึ่งในร้อย" ของการโหวตระดับอินเตอร์ ในฐานะบริษัทที่น่าร่วมงานด้วยเสมอๆ การทำองค์กรให้น่าร่วมงานของผู้ให้บริการ "ส่งด่วน" รายใหญ่สุดของโลกแห่งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นไปยัง "People" เป็นอันดับแรก ตามมาด้วย "Service" และ "Profit"
ในขณะที่ลูกค้ารู้ว่า พัสดุ สิ่งของที่เขาส่งกับเฟดเอ็กซ์ จะถึงที่หมายตามกำหนดไว้อย่างแน่นอน พนักงานของเฟดเอ็กซ์ก็รู้ด้วยว่า สำหรับองค์กรแห่งนี้ "พวกเขา" สำคัญที่สุด
People-Service-Profit
สิ่งที่ "เดวิด คาร์เด็น" กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีนของเฟดเอ็กซ์ บอกว่า People-Service-Profit เป็นวัฒนธรรมขององค์กรแห่งนี้ ที่ให้ความสำคัญกับ "คน" เป็นอันดับแรก เดวิดอธิบายว่า เป็นเพราะงานของเฟดเอ็กซ์ คือการให้บริการ ซึ่งก็มาจากคนนั่นเอง
"ไม่ว่าเทคโนโลยีจะทันสมัยแค่ไหน ถ้าไม่มีคนก็ไม่สามารถสร้างงาน สร้างบริการที่มีประสิทธิภาพออกมาได้" เดวิดกล่าว
โดยเฉพาะธุรกิจของเฟดเอ็กซ์ที่เน้นให้บริการ "ส่งด่วน" และ "การันตี" การส่งของภายในเวลาที่กำหนด เช่น เอเชียใช้เวลา 1 คืน อเมริกาใช้เวลา 2 คืน ยิ่งต้องการทำงานที่ฉับไว รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง และสอดประสานกันอย่างดีเยี่ยม
ทีมงาน จึงเป็น "คีย์เวิร์ด" ขององค์กรแห่งนี้
"คนคิดว่าเราแค่ส่งสินค้า ส่งแพ็คเกจจิ้ง แต่มันไม่ใช่แค่สิ่งของ มันเป็นเรื่องของการทำงานที่ประสานกัน มันเป็นเรื่องของเทคโนโลยี" เดวิดกล่าว
การให้ความสำคัญต่อพนักงาน เพื่อให้คนทำงาน "พร้อม" ปฏิบัติงานให้ดีและเป็นไปด้วยความกระตือรือร้นจะอยู่ในรูปแบบต่างๆเช่น เน้นสร้างการทำงานเป็นทีม การกระตุ้นให้พนักงานมีส่วนร่วมทำให้ธุรกิจเติบโต มีโปรแกรมกระตุ้นให้พนักงานตั้งเป้าหมายในการทำงาน หรือทำ "มากกว่า" ที่ได้รับมอบหมาย
โปรแกรมสร้างคน "เชิงลึก" ของเฟดเอ็กซ์ จะมีหลักสูตรทั้งสำหรับระดับโลคัล และระดับเวิลด์ไวด์ เพื่อให้พนักงานมีความก้าวหน้าในอาชีพ กระทั่งหลักสูตรการเป็นผู้บริหารระดับอินเตอร์ที่เรียกกันว่า "โกลด์ โปรแกรม"
โดยแบบฉบับคนในองค์กรที่เฟดเอ็กซ์ต้องการหล่อหลอม คือ คนที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ คนที่พร้อมเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ คนที่กล้าแสดงออก และคนที่พร้อมทำงานเป็นทีม สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องช่วยให้พนักงานพร้อมทุ่มเทให้กับองค์กร คือ การเอาใจใส่ถึงความต้องการ ปัญหาต่างๆ ของพนักงาน โดยเฟดเอ็กซ์จะออกแบบสำรวจถึงความต้องการของพนักงาน ความพึงพอใจต่อผู้บริหาร ตลอดจนข้อคับข้องใจต่างๆ
ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ผู้บริหารได้รับทราบข้อเท็จจริง และนำไปพิจารณาปรับปรุง
"เราจะโฟกัสในเสียงสะท้อนของพนักงานมาก เพราะเราจะเป็นผู้นำในเรื่องการให้ผลประโยชน์แก่พนักงาน ใครต้องการอะไร ใครต้องการพัฒนาด้านไหน อยากจะอบรมด้านภาษา อยากเพิ่มเติมด้านเทคโนโลยี ต้องการอะไร ผลจากแบบสำรวจนี้จะเป็นคู่มือให้ผู้บริหารได้พิจารณา"
อย่างที่ผ่านมา เดวิดบอกว่า พนักงานอยากจะให้ปรับปรุงการเบิกจ่ายเรื่องการเรียนภาษา หรือเพิ่มเติมเรื่องสวัสดิการรักษาพยาบาล ก็มีการปรับปรุงในส่วนนี้ ขณะเดียวกันยังทบทวนการให้ผลตอบแทน สวัสดิการ ของบริษัท โดยจะให้อยู่ใน "มาตรฐานตลาด" เพื่อรักษาคนคุณภาพ มีทุนการศึกษาต่อ
"ค่าตอบแทนที่เฟดเอ็กซ์จะพิจารณาตามความสามารถ การทำงานเป็นทีม ผลงานของประเทศ และของโลก นอกจากนี้เรายังมีโปรแกรมให้ผลตอบแทนแก่พนักงานที่สามารถสร้างผลงานดี เพราะฉะนั้นเทิร์น โอเวอร์คนที่นี่จึงต่ำ" เดวิดกล่าว
เฟดเอ็กซ์ยังเป็นที่รู้จักในฐานะองค์กรที่เน้นสร้าง โปรโมท "คนใน" อย่างเต็มที่ ในการก้าวขึ้นเป็นผู้บริหารของเฟดเอ็กซ์ต่อไป 2
ชนิดที่ 90% ของคนในระดับบริหารจะมาจากการโปรโมทภายใน โดยก่อนจะประกาศรับสมัครคนใหม่แต่ละครั้ง จะมีการประกาศเพื่อเปิดโอกาสให้คนในได้ขยับขยายก่อน อย่างเดวิดก็ถือว่าเป็น "ลูกหม้อ" เต็มขั้น เพราะทำงานกับเฟดเอ็กซ์มาร่วม 20 ปี เป็นกรรมการผู้จัดการเมื่อปี 1995 แล้วก็ย้ายมาเกาหลี ประเทศไทย
วัฒนธรรมองค์กรอีกอย่างคือ Service เดวิดบอกว่า สิ่งที่เฟดเอ็กซ์ขาย คือ บริการ ซึ่งเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน จึงต้องสร้าง "ระบบ" ให้บริการที่ดี เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด อย่างเช่น ข้อมูลที่ละเอียดจากลูกค้าเพื่อจะได้จัดส่งอย่างที่ต้องการ เพราะบางแพ็คเกจอาจต้องการการขนส่งที่ระมัดระวัง บางแพ็คเกจต้องการให้ส่งภายในวันเดียว รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสนับสนุน จะได้จัดส่งของในเวลาที่เร็วที่สุด ใช้ระบบเพเพอร์เลสเพื่อลดขั้นตอนด้านเอกสาร มีเทคโนโลยีที่ลูกค้าสามารถทำรายการทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย
นอกจากนี้ยังมีแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งจะเป็นดัชนีวัดการบริการ รวมถึงการการันตีเรื่องเวลาของถึงมือ โดยการคืนเงิน ด้วยเหตุนี้เฟดเอ็กซ์จึงต้องมีเครื่องบินของตัวเอง และมีเครื่องสำรอง
ความกดดันในธุรกิจนี้ เดวิดบอกว่า มีแน่นอน เพราะการแข่งขันสูงภายใต้ความเร็ว แต่เมื่อบริษัทมีระบบทีมเวิร์คที่ดี ก็จะเข้ามาช่วยเสริม ช่วยแก้ปัญหาในแต่ละจุดได้ทันที
"เรามีศูนย์จ่ายงานที่จะประสานไปยังจุดต่างๆ ให้แก้ปัญหาได้ทันเวลา จึงลดความกดดันของคนทำงานไปได้"
การประสานงานของเฟดเอ็กซ์และเทคโนโลยีที่วางระบบไว้อย่างดี ทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่า แพ็คเกจชิ้นใด อยู่ ณ จุดใด บริษัทจึงสามารถให้คำแนะนำที่ดี หรือให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ทันกาล
ส่วนเรื่องของ Profit หรือกำไร ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรอีกอย่างนั้น เดวิดบอกว่า การจะดูแลพนักงานให้ดี ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องกำไรเป็นธรรมดา
"เราจะมีทีมโบนัส แพลน ถ้าแต่ละทีมทำได้ตาเมป้าหมายของเขา ก็จะได้โบนัสตามที่ระบุไว้ ซึ่งจะทำให้พนักงานกระตือรือร้นที่จะสร้างผลงาน สร้างกำไร"
ธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งต้องการบริการส่งสินค้าถึงบ้าน คือ โอกาสของเฟดเอ็กซ์ เพราะฉะนั้นอัตราโตของธุรกิจนี้จึงยังคงต่อเนื่องแม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัว
ตอนนี้ธุรกิจของเฟดเอ็กซ์ในเมืองไทยมีไฟลต์ 12 เที่ยวต่อสัปดาห์ นอกจากจะมีศูนย์ในหัวเมืองใหญ่แล้ว ยังมีเซอร์วิส เซ็นเตอร์ย่อยกระจายตามย่านธุรกิจ เช่น ประตูน้ำ สีลม ข้าวสาร นานา
การขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จแบบเฟดเอ็กซ์ จึงมาจากการดูแลพนักงานให้ดี เพื่อพนักงานจะได้ทำหน้าที่ให้บริการตามที่ลูกค้าต้องการ และสุดท้ายจะนำมาสู่ผลประกอบการที่ดี
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฉบับวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2550